วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ทรัพยากรดิน
               ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่างๆ กันเมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน
ประโยชน์ของดิน
ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ
1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%
2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย
4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี
 
ชนิดของดิน
อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน
1. ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
2. ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
3. ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่าสีของดินจะทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ปริมาณอินทรียวัตถุที่ปะปนอยู่และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน ทำให้สีของดินต่างกันถ้ามีฮิวมัสน้อยสีจะจางลงมีความอุดมสมบูรณ์น้อย
ปัญหาทรัพยากรดิน
ดินส่วนใหญ่ถูกทำลายให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ หรือตัวเนื้อดินไปเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และการสูญเสียตามธรรมชาติทำให้เราไม่อาจใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การสูญเสียดินเกิดได้จาก
1. การกัดเซาะและพังทลายโดยน้ำ น้ำจำนวนมากที่กระทบผิวดินโดยตรงจะกัดเซาะผิวดิน ให้หลุดลอยไปตามน้ำ การสูญเสียบริเวณผิวดินจะเป็นพื้นที่กว้าง หรือถูกกัดเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความแรง และบริเวณของน้ำที่ไหลบ่าลงมาก
2. การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า ถางป่าทำให้หน้าดินเปิด และถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำและลมเมื่อฝนตกลงมา น้ำก็ชะล้างเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปกับน้ำ ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลง
3. การเพาะปลูกและเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี การเตรียมที่ดินทำการเพาะปลูกนั้นถ้าไม่ถูกวิธีก็จะก่อความเสียหายกับดินได้มากตัวอย่างเช่น การไถพรวนขณะดินแห้งทำให้หน้าดินที่สมบูรณ์หลุดลอยไปกับลมได้ หรือการปลูกพืชบางชนิดจะทำให้ดินเสื่อมเร็ว การเผาป่าไม้ หรือตอข้าวในนา จะทำให้ฮิวมัสในดินเสื่อมสลายเกิดผลเสียกับดินมาก
การอนุรักษ์ดิน
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดินเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน ต้องขุดลอกใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้ดินพังทลายหรือเสื่อมโทรมซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการอนุรักษ์ดิน
1. การใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกพืชควรต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน การปลูกพืชและการไถพรวนตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน นอกจากนี้ควรจะสงวนรักษาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ใช้ในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย เพราะที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมในการเพาะปลูกมีอยู่จำนวนน้อย
2. การปรับปรุงบำรุงดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก การปลูกพืชตะกูลถั่ว การใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด การแก้ไขพื้นที่ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดิน เป็นต้น
3. การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชบังลม การไถพรวนตามแนวระดับ การทำคันดินป้องกันการไหลชะล้างหน้าดิน รวมทั้งการไม่เผาป่าหรือการทำไร่เลื่อนลอย
4. การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออกการจัดส่งเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
ทรัพยากรน้ำ
      โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วยน้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
การอนุรักษ์น้ำ
น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มหาศาล เราจึงควรช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้
 1. การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้น้ำอย่างประหยัดนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย
 2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน
 3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้ ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างพอเพียง ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมากขึ้นแต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด
 4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฎิกูลและสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
 5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่งอาจใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ได
ทรัพยากรป่าไม้
                         สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                1.  ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ  (Evergreen) 
                2.  ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

 ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี  เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท  นี้  ได้แก่
1.  ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)
ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด  ได้แก่  ภาคใต้และภาคตะวันออก  ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น  ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ  เช่น  ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร  ห้วย  แหล่งน้ำ และบนภูเขา  ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร  จากระดับน้ำทะเล  ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น  ยางนา  ยางเสียน  ส่วนไม้ชั้นรอง คือ  พวกไม้กอ  เช่น  กอน้ำ  กอเดือย
1.2  ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) 
เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย  เช่น  ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร  ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา  พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ 
1.3  ป่าดิบเขา (Hill  Evergreen Forest) 
ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล  ไม้ส่วนมากเป็นพวก   Gymonosperm  ได้แก่  พวกไม้ขุนและสนสามพันปี  นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่  พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา  ได้แก่  เป้ง  สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
2.  ป่าสนเขา (Pine Forest)
ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ  ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร  จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้  ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ  ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา  เช่น  กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง  รัง  เหียง พลวง  เป็นต้น
3.  ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ  ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ  ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน  ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ  อำเภอลุง  จังหวัดจันทบุรี
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน  ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง  ประสัก  ถั่วขาว  ถั่วขำ  โปรง  ตะบูน  แสมทะเล  ลำพูนและลำแพน  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก  ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ  ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น
4.  ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ  ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง  มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ  เช่น  ครอเทียน  สนุ่น  จิก  โมกบ้าน  หวายน้ำ  หวายโปร่ง ระกำ  อ้อ และแขม  ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท  ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน  เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด"  อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ  มากชนิดขึ้นปะปนกัน
ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ  ได้แก่  อินทนิล  น้ำหว้า  จิก  โสกน้ำ  กระทุ่มน้ำภันเกรา  โงงงันกะทั่งหัน  ไม้พื้นล่างประกอบด้วย  หวาย  ตะค้าทอง  หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ 
5.  ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล  น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล  ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล  ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ  ใบหนาแข็ง  ได้แก่  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  กระทิง  ตีนเป็ดทะเล  หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง  ตามฝั่งดินและชายเขา  มักพบไม้เกตลำบิด  มะคาแต้  กระบองเพชร  เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ  เช่น  ซิงซี่  หนามหัน  กำจาย  มะดันขอ เป็นต้น
                ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)
        ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น  ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้  ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้  ได้แก่
  1.  ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย  ป่าเบญจพรรณ  ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี  ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย  พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่  สัก ประดู่แดง  มะค่าโมง  ตะแบก  เสลา  อ้อยช้าง  ส้าน  ยม  หอม  ยมหิน  มะเกลือ  สมพง  เก็ดดำ  เก็ดแดง  ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ  เช่น  ไผ่ป่า  ไผ่บง  ไผ่ซาง  ไผ่รวก  ไผ่ไร  เป็นต้น
  2.  ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง  ป่าแพะ  ป่าโคก  ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  ตามพื้นป่ามักจะมีโจด  ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก  พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด  ลูกรัง  พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา  ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด  ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง  ได้แก่  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  กราด  พะยอม  ติ้ว  แต้ว  มะค่าแต  ประดู่  แดง  สมอไทย  ตะแบก เลือดแสลงใจ  รกฟ้า  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก  ได้แก่  มะพร้าวเต่า  ปุ่มแป้ง  หญ้าเพ็ก  โจด  ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ
  3.  ป่าหญ้า (Savannas Forest)ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง  หญ้าชนิดต่าง ๆ  จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย  พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี  พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ  หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง  หญ้าโขมง  หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง  บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่  เช่น  ตับเต่า  รกฟ้าตานเหลือ  ติ้วและแต้ว

 ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
หย่อนใจได้ดี  นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก  จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์    ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่.

      ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่  ปัจจัย 4 ประการ
1.  จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  กระดาษ  ไม้ขีดไฟ  ฟืน เป็นต้น
2.  ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล3.  ใช้เส้นใย  ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ  เป็นเครื่องนุ่งห่ม  เชือกและอื่น ๆ4.  ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ

      ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1.  ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ  ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2.  ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ  ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช  ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา  ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3.  ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนได้ศึกษาหาความรู้
4.  ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่  ๑๑-๔๔  %  ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด  จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5.  ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน  จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ  ไม่ตื้นเขินอีกด้วย  นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ  จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

การอนุรักษ์ป่าไม้
    ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก  จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย  ดังนั้น  การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน  ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ   ประชาชน  ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้  ดังนี้ 
1.  นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 
2.  นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ 
3.  นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น 
4.  นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้  เช่น  การทำไม้และการเก็บหาของป่า  การปลูก และการบำรุงป่าไม้  การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม 
5.  นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์  ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต 
ทรัพยากรแร่ธาตุ
   แร่ คือ ธาตุแท้ หรือสารบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีและมีรูปผลึกที่แน่นอน  จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
  ชนิดของแร่ เราสามารถแบ่งแร่ออกเป็น 3 ชนิด คือ แร่โลหะ แร่อโลหะ และแร่เชื้อเพลิง

             1)  แร่โลหะคือ แร่ที่นำมาถลุงก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่
  (1) ดีบุก เป็นแร่ที่อยู่ในหินแข็งจำพวกหินแกรนิต มีลักษณะเป็นผลึกแต่อาจเป็นก้อนผิวเป็น เส้นๆ คล้ายไม้ ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีคล้ายน้ำผึ้ง  ถ้าไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาลหรือดำ นิยมนำมาทำโลหะผสม ทำภาชนะจำพวกปีบ กระป๋องนำมาใช้เคลือบหรือชุบแผ่นเหล็ก ทำโลหะบัดกรี  ทำเป็นแผ่นสำหรับห่ออาหาร บุหรี่
              (2) วุลแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งมีสีน้ำตาลแก่หรือดำ เมื่อถลุงแล้วเรียกว่า “ทังสเตน ”มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีจึงนิยมนำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ทำเครื่องเจาะ ตัดและกลึงโลหะ
               (3) เหล็ก มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีดำ มีความมันวาวแบบโลหะ เป็นแร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด นิยมใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ  เครื่องจักรกลต่างๆ และอาวุธ
               (4) ตะกั่ว มีลักษณะเป็นเกล็ด เม็ด บางทีเป็นผลึกรูปลูกเต๋า มีสีเทาแก่ออกดำ นิยมนำมาทำลูกกระสุนปืนทำตัวพิมพ์ ทำโลหะบัดกรี  แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
               (5) ทองแดง  มีลักษณะเป็นของแข็งสีแดง เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นยางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่ายเราใช้ทองแดงมากเป็นอันดับสองรองจากเหล็ก  โดยใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ 
  2) แร่อโลหะ คือ แร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องถลุงแร่อโลหะที่สำคัญได้แก่
  (1) ยิปซัม เป็นแร่ที่เกิดขึ้นเป็นชั้นหนา ลักษณะคล้ายหินปูน มีสีขาว ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก
  (2) เกลือแกง มี 2 ชนิด คือเกลือสินเธาว์ หรือเกลือหิน ซึ่งเป็นเกลือที่ได้จากดินเค็มและเกลือสมุทรซึ่งได้จากน้ำทะเล
  (3) แร่รัตนชาติ ได้แก่ พวกพลอยต่างๆ ส่วนมากจะพบในลานดินที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์
  แร่เชื้อเพลิง  คือ แร่ที่ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

 ประโยชน์ของแร่
1)  ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม
2)  ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับต่างๆ
3)  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน 4)  ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนและพลังงานตลอดจนนำมาสร้างเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ

ทรัพยากรสัตว์ป่า

ทรัพยากรสัตว์ป่า
 การอนุรักษ์สัตว์ป่า
 สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จึงต้องมีวิธีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้
  1. กำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ  2. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง 3. การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองเพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมากทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ  4. การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้วยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย  5. การปลูกฝังการให้ความรัก และเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธีสัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่า ซึ่งมักไม่มีชีวิตรอด  6. การเพาะพันธุ์เพิ่มสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ควรมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการทดแทนและเร่งให้มีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น

เนื้อหาการสัมภาษณ์

เนื้อหาการสัมภาษณ์
  ท่านบอกว่า สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง
ทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่นเราจึงต้องร่วมมือกันเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง ให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งในเมืองและในชนบท และการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไปตามหลักวิชาการ จัดประเภททรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็น 3 ประเภท ที่สำคัญดังนี้
  1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมด หรือสูญหายไป เราสามารถใช้ทรัพยากรประเภทนี้ได้อย่างไม่จำกัด
  2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดแต่สร้างทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น ป่าไม้ ดิน ที่ดิน แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า และสัตว์ป่า เป็นต้น
  3. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่มีการสร้างทดแทนได้ เช่น แร่น้ำมัน 

    วิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  4. ใช้เศษหญ้าคลุมไม้ใหญ่
  5. เก็บขวดแก้วที่ใช้แล้ว
  6. ช่วยกันปลูกต้นไม้อีก 5 เท่าจึงจะเพียงพอ
  7. ปลูกต้นไม้ในอาคารปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ 

ผู้ให้สัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์


ชื่อ : นางแสงจันทร์ 
นามสกุล : นาชิน
ชื่อเล่น : แสง
อายุ : 52 ปี
สัญชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ
อาชีพ : เกษตรกร
ที่อยู่ : 59 หมู่ 6 ตำบลเปือยใหญ่ อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น 40110


สถานที่ให้สัมภาษณ์
ทำการสัมภาษณ์ที่บ้านคุณยายแสง

วัน เวลา การสัมภาษณ์
ให้การสัมภาษณ์ในวันอาทิตย์ที่ 5 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึง
วันเสาร์ที่ 25 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 08.00-18.40 น.

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์บุญจันทร์ จอมศรีประเสริฐ

สรุปเนื้อหาการสัมภาษณ์

สรุปเนื้อหาการสัมภาษณ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ
จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้น
รวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น
มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ

ภาคผนวก

ภาคผนวก


รูปที่ 1 ประชุมวางแผนการทำงาน


รูปที่ 2 ลงมือปฏิบัติงานตามแผน


รูปที่ 3 ผลที่ได้คือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสมดุล

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายณัฐวุฒิ โสมาบุตร
เกิดวันที่ 24 มิ.ย33 อายุ 20 ปี
Tel.087-430-9768
ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ บ้านเลขที่ 25 หมู่ 6 บ.หนองเหมือดแอ่ ต.โคกมั่งงอย อ.คอาสวรรค์ จ.ชัยภูมิ 36140
บิดาชื่อ นาย ธวัช โสมาบุตร อาชีพ รับราชการ
มารดาชื่อ นางพัชมณ โสมาบุตร อาชีพ รับราชการ
  งานอดิเรก
อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ดูทีวี เล่นเกมส์ ถ่ายรูป ฟังเพลง 
E-Mail : Nestle_mard@hotmail.com
Tel. : 087-430-9768



ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2535                                           จบการศึกษาระดับชั้นประถมจาก
                                                          โรงเรียนสหราษฎร์นุเคราะห์ 
พ.ศ.2540                                           จบการศึกษาระดับชั้นประถมจาก
                                                          โรงเรียนสหราษฎร์นุเคราะห์ 
พ.ศ.2545                                           จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมจาก
                                                           โรงเรียนคอนสวรรค์ 
พ.ศ.2551                                           ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเทคโนโลยีภาค
                                                           ตะวันนอกเฉียงเหนือ