วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ทรัพยากรป่าไม้
                         สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                1.  ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ  (Evergreen) 
                2.  ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

 ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี  เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท  นี้  ได้แก่
1.  ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)
ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด  ได้แก่  ภาคใต้และภาคตะวันออก  ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น  ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ  เช่น  ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร  ห้วย  แหล่งน้ำ และบนภูเขา  ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร  จากระดับน้ำทะเล  ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น  ยางนา  ยางเสียน  ส่วนไม้ชั้นรอง คือ  พวกไม้กอ  เช่น  กอน้ำ  กอเดือย
1.2  ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) 
เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย  เช่น  ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร  ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา  พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ 
1.3  ป่าดิบเขา (Hill  Evergreen Forest) 
ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล  ไม้ส่วนมากเป็นพวก   Gymonosperm  ได้แก่  พวกไม้ขุนและสนสามพันปี  นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่  พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา  ได้แก่  เป้ง  สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
2.  ป่าสนเขา (Pine Forest)
ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ  ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร  จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้  ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ  ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา  เช่น  กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง  รัง  เหียง พลวง  เป็นต้น
3.  ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ  ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ  ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน  ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ  อำเภอลุง  จังหวัดจันทบุรี
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน  ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง  ประสัก  ถั่วขาว  ถั่วขำ  โปรง  ตะบูน  แสมทะเล  ลำพูนและลำแพน  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก  ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ  ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น
4.  ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ  ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง  มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ  เช่น  ครอเทียน  สนุ่น  จิก  โมกบ้าน  หวายน้ำ  หวายโปร่ง ระกำ  อ้อ และแขม  ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท  ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน  เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด"  อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ  มากชนิดขึ้นปะปนกัน
ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ  ได้แก่  อินทนิล  น้ำหว้า  จิก  โสกน้ำ  กระทุ่มน้ำภันเกรา  โงงงันกะทั่งหัน  ไม้พื้นล่างประกอบด้วย  หวาย  ตะค้าทอง  หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ 
5.  ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล  น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล  ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล  ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ  ใบหนาแข็ง  ได้แก่  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  กระทิง  ตีนเป็ดทะเล  หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง  ตามฝั่งดินและชายเขา  มักพบไม้เกตลำบิด  มะคาแต้  กระบองเพชร  เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ  เช่น  ซิงซี่  หนามหัน  กำจาย  มะดันขอ เป็นต้น
                ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)
        ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น  ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้  ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้  ได้แก่
  1.  ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย  ป่าเบญจพรรณ  ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี  ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย  พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่  สัก ประดู่แดง  มะค่าโมง  ตะแบก  เสลา  อ้อยช้าง  ส้าน  ยม  หอม  ยมหิน  มะเกลือ  สมพง  เก็ดดำ  เก็ดแดง  ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ  เช่น  ไผ่ป่า  ไผ่บง  ไผ่ซาง  ไผ่รวก  ไผ่ไร  เป็นต้น
  2.  ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง  ป่าแพะ  ป่าโคก  ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  ตามพื้นป่ามักจะมีโจด  ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก  พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด  ลูกรัง  พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา  ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด  ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง  ได้แก่  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  กราด  พะยอม  ติ้ว  แต้ว  มะค่าแต  ประดู่  แดง  สมอไทย  ตะแบก เลือดแสลงใจ  รกฟ้า  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก  ได้แก่  มะพร้าวเต่า  ปุ่มแป้ง  หญ้าเพ็ก  โจด  ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ
  3.  ป่าหญ้า (Savannas Forest)ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง  หญ้าชนิดต่าง ๆ  จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย  พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี  พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ  หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง  หญ้าโขมง  หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง  บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่  เช่น  ตับเต่า  รกฟ้าตานเหลือ  ติ้วและแต้ว

 ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
หย่อนใจได้ดี  นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก  จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์    ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่.

      ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่  ปัจจัย 4 ประการ
1.  จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  กระดาษ  ไม้ขีดไฟ  ฟืน เป็นต้น
2.  ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล3.  ใช้เส้นใย  ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ  เป็นเครื่องนุ่งห่ม  เชือกและอื่น ๆ4.  ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ

      ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1.  ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ  ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2.  ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ  ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช  ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา  ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3.  ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนได้ศึกษาหาความรู้
4.  ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่  ๑๑-๔๔  %  ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด  จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5.  ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน  จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ  ไม่ตื้นเขินอีกด้วย  นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ  จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

การอนุรักษ์ป่าไม้
    ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก  จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย  ดังนั้น  การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน  ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ   ประชาชน  ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้  ดังนี้ 
1.  นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 
2.  นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ 
3.  นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น 
4.  นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้  เช่น  การทำไม้และการเก็บหาของป่า  การปลูก และการบำรุงป่าไม้  การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม 
5.  นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์  ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น